หน้าหลัก > ข่าวและประกาศ > 6 Steps ! สูงวัยสู้ข่าวโควิด
6 Steps ! สูงวัยสู้ข่าวโควิด
6 Steps ! สูงวัยสู้ข่าวโควิด
28 Aug, 2021 / By agong-ama
Images/Blog/4q7ngJay-AgongAma-Content-6 (1).jpg

อย่างที่ทุกคนรับรู้ว่า...ตอนนี้ข้อมูลข่าวสารบนโลกออนไลน์ มันเยอะ และมาจากหลายช่องทางมากจริงๆ

ทั้งข้อมูลจริง ข้อมูลที่ดูเหมือนว่าจะจริง ข้อมูลที่ยังไม่ได้ผ่านการกรอง รวมถึง Fake News ต่างก็เด้งเบียดบน News Feed ไปหมด จนทำให้ทุกวันนี้หลายคนกำลังตกอยู่ใน “ภาวะข้อมูลท่วมท้น” โดยไม่รู้ตัว

📍 ภาวะข้อมูลท่วมท้น (Information Overload) คืออะไร?

มันคือภาวะที่ “ข้อมูลมีมากจนเกินไป" ข้อมูลที่ไหลออกมาจากความสะดวกสบาย ของการเข้าถึงเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ง่ายมากขึ้น ประมาณว่า...ใครก็เข้าถึงได้ ใครจะเขียนโพสต์ กดแชร์ หรือค้นหาข้อมูลบนโลกออนไลน์ก็ทำได้หมด... จนเป็นที่มาของคำจำกัดความที่ว่า “มากปริมาณ แต่ไม่มีคุณภาพ”

จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะปัญหาทางจิตใจและปัญหาทางกายที่ตามมา “อาการที่กำลังรับรู้ความรู้สึกมากเกินไปในเวลาอันสั้น” กับข้อมูลที่มีปริมาณมากๆ แน่นอนว่าส่งผลให้เกิดความเครียด ความสับสน รวมไปถึงความสามารถในการเข้าใจหรือการจับประเด็นต่างๆ ก็ลดลง จนบางรายอาจเกิดอาการกำเริบของโรคประจำตัวได้ โดยเฉพาะโรคหัวใจที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเสี่ยงหัวใจวายได้...

ซึ่งนี้คือ 6 Steps ที่จะช่วยให้คุณสู้ข่าวโควิดหรือรับมือกับ ‘ภาวะข้อมูลท่วมท้น' ในปัจจุบันได้

1 ทำความเข้าใจก่อนว่าข้อมูลไหนมีประโยชน์

แนะนำให้เริ่มจากการงัดความสามารถในการทำเข้าใจออกมาใช้มากๆ เพราะต้องบอกว่าการฝึกกรองเบื้องต้นนี้จะช่วยให้คุณมองเห็นทัศนคติหรือมุมมองของข่าวนั้นๆ หรือคนที่แชร์ได้ เพียงเท่านี้คุณก็รู้ทันทีว่าเขาต้องการจะสื่ออะไร มีความจำเป็นที่ต้องกดเข้าไปอ่านต่อหรือเลื่อนผ่านไปดีกว่านั่นเอง

2 ตัดข้อมูลข่าวสารส่วนที่เป็นอันตรายออกไป

หากไม่อยากรู้สึกเหนื่อยจนเกินไป ให้เลือกข้ามหรือลบข่าวที่เศร้าๆ ข่าวที่รุนแรง เนื้อหาที่มันจะทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดออกไป เพราะการที่เราเสพเรื่องอะไรมากๆ มันจะทำให้สิ่งเหล่านั้นวนอยู่ในความคิดในหัวของคุณตลอดเวลา ดังนั้นอะไรที่ไม่ดีต่อใจแนะนำให้พยายามตัดออกไปให้มากที่สุดค่ะ

3 จำกัดเวลา ปริมาณ และขอบเขต

จริงอยู่ที่ว่ามันมีข่าวสดใหม่รอให้เราติดตามอยู่ตลอดเวลา แต่อยากจะบอกว่าคุณควรจะกำหนดเส้นหรือขอบเขตสักหน่อย ไม่ว่าจะในด้านของประเภทข่าวสาร จำนวนข่าวสาร หรือเรื่องราวที่ติดตามในแต่ละวัน รวมไปถึงเวลาในการเสพ หากทำได้ก็จะยิ่งดีขึ้นไปใหญ่

4 ยืดหยุ่นด้วยกิจกรรมผ่อนคลาย

มันไม่แปลกที่คุณจะรู้สึกอินไปตามกับเรื่องเล่านั้นๆ จนรู้สึกว่าหัวสมองล้นๆ หรือเครียดตามไปกับข่าวสารที่บริโภคเข้าไปทุกวัน

แต่ทางที่ดีคุณต้องหันมาพูดกับตัวเองแล้วดึงสติเอาไว้ด้วย จากการหากิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายหัวสมอง (แนะนำให้งดใช้เทคโนโลยีระหว่างนั้น) เช่น การเดินออกไปดูธรรมชาติ การพูดคุย หรือถ่ายทอดสิ่งที่คิดกับเพื่อนหรือพี่น้อง รวมไปถึงการฝึกควบคุมลมหายใจก็จะช่วยฟื้นฟูได้ดีมากๆ

5 รู้ทันโฟกัสของตัวเอง

“ทำไมมันเป็นอย่างนั้น? ทำไมมันเป็นอย่างนี้?” ถ้าหากคุณมีคำพูดเหล่านี้กับตัวเองบ่อยๆเวลาฟังข่าว นั่นแปลว่าข่าวนั้นกำลังส่งผลเชิงลบกับตัวคุณ ดังนั้นลองฝึกโฟกัสกับสิ่งเล็กๆน้อยที่ทำให้คุณรู้สึกดี หรือหาอะไรที่ทำให้คุณรู้สึกเบิกบานทำแทน

6 ไม่หลีกหนีและยอมรับมัน

อย่างที่เรารู้ว่าความสุข ความทุกข์ หรือความเจ็บป่วย ล้วนเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ แม้เราจะต้องการหรือไม่ต้องการมันก็ตาม เพราะข้อมูลหรือข่าวสารเหล่านั้นก็อาจจะมีประโยชน์หรือเป็นพลังให้คุณในบางครั้ง เช่น เรื่องราวที่ยากลำบากหรือเศร้าๆ ของคนอื่น อาจจะทำให้คุณเข้าใจถึงความรู้สึกเจ็บปวดเหล่านั้น (โดยที่คุณไม่ต้องไปเจอกับตัวเอง) แต่มันอาจเปลี่ยนคุณให้กลายเป็นคนที่มีสติมากขึ้นได้

เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ? มีใครเคยเป็นอาการเหล่านี้หรือมีประสบการณ์คล้ายๆแบบที่เราเล่าไปบ้างไหมคะ

ถ้ามีก็คอมเมนต์เล่าสู่กันฟังได้นะคะ สุดท้ายนี้อากงอาม่าขอให้ทุกคนเสพข่าวอย่างมีสติ ไม่มากจนเกิดความเครียดนะคะ

เราจะผ่านมันไปด้วยกันค่ะ ✌️

#อากงอาม่า #AgongAma

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.